Best practice

Best Practice การดำเนินงานศูนย์ให้การปรึกษาคุณภาพ (Psychosocial Clinic)

การพัฒนางานการให้การปรึกษาโรคเอดส์จากแบบเดี่ยวเป็นแบบคู่

ในแผนกฝากครรภ์   โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย

บริบทการให้การปรึกษาโรคเอดส์โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย

การปรึกษาโรคเอดส์ในหญิงตั้งครรภ์ของคลินิกฝากครรภ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารก  เพื่อคัดกรองป้องกันโรคที่สามารถถ่ายทอดไปสู่ทารกในครรภ์ได้  โดยเฉพาะด้านการให้การปรึกษาโรคเอดส์ ที่มีการพัฒนางานขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน ตั้งแต่ยังไม่มีนโยบายรองรับ คือกระบวนการการให้คำปรึกษาแบบคู่(ทั้งสามีและภรรยาต้องมาพร้อมกัน)แทนการให้คำปรึกษาแบบเดี่ยว (เฉพาะหญิงตั้งครรภ์)เพื่อเป้าหมายการดูแลทั้งครอบครัว ซึ่งกว่าจะเป็นแนวทางปฏิบัติ  ต้องฝ่าฟันอุปสรรคมากมาย และปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานหลายรูปแบบจนบรรลุผลเป็นรูปธรรมในปัจจุบัน การพัฒนางานการให้คำปรึกษาโรคเอดส์ในคลินิกฝากครรภ์ ดังนี้

แรงกระตุ้นให้เกิดการพัฒนางานการให้การปรึกษาโรคเอดส์จากแบบเดี่ยวเป็นแบบคู่ของคลินิกฝากครรภ์

ปี 2551-2554 การบริการให้การปรึกษาเน้นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกไม่รวมสามี    เมื่อผลเลือดผิดปกติ เป็นความยากลำบากในการแจ้งผลเลือดแก่คู่สมรส ต้องส่งพบบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการให้การปรึกษาและขาดความต่อเนื่องในการติดตามข้อมูลของหญิงตั้งครรภ์และคู่สมรส

ปี 01/2555 มอบหมายผู้รับผิดชอบคลินิกฝากครรภ์ เข้าร่วมอบรม แนวทางการให้คำปรึกษาแบบคู่ จัดโดยศูนย์อนามัยที่ 9 เพื่อรับทราบโยบายและแนวทางปฏิบัติ ทำให้ผู้รับผิดชอบคลินิกฝากครรภ์ ได้ทบทวนรูปแบบกระบวนการให้บริการและปรึกษาหัวหน้าหน่วยงานคลินิกพิเศษ    ในการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมเป็นระยะๆ

ปี 10/2555 ศูนย์อนามัยที่ 9พิษณุโลก นิเทศติดตามประเมินผลการดำเนินงานในการให้คำปรึกษาแบบคู่ พบว่ารูปแบบกระบวนการให้บริการชัดเจน แต่ผลลัพธ์ยังไม่เป็นรูปธรรม                    

ปี 1/11/2555 การให้การปรึกษาแบบคู่ กำหนดเป็นตัวชี้วัดงานฝากครรภ์ ตามแนวทางโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว

ขั้นตอนการดำเนินงาน (เริ่มตั้งแต่ ปี 2555-ปัจจุบัน)     

1. ประเมินตนเองของคลินิกฝากครรภ์ในการให้คำปรึกษาจากผลการทำงานที่ผ่านมา พบว่า

2. การดำเนินงานเพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จ

ขั้นที่ 1:  วางแผนดำเนินงานจัดให้มีการให้คำปรึกษาแบบคู่ (1/02/ 2555

ผล    ไม่สามารถจัดบริการได้  เนื่องจาก

                    1. มีการเปลี่ยนแปลงบุคลากรในหน่วยงาน

                   2. ต้องใช้ระยะเวลาตามมาตรฐาน อย่างน้อย 30 นาทีขึ้นไป

  1. หญิงตั้งครรภ์และคู่สมรสไม่ให้ความร่วมมือ เพราะใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน
  2. หน่วยงานคลินิกพิเศษ มีความหลากหลายของงานที่รับผิดชอบซึ่งต้องเตรียมล่วงหน้าในแต่ละวัน จึงมีผลกระทบต่องานในวันถัดไป

                    ขั้นที่ 2:  จัดทำโครงการให้คำปรึกษาแบบคู่ แบบนำร่อง (1/07/2555)

                                รูปแบบการให้การปรึกษาแบบคู่โดยในวันที่หญิงตั้งครรภ์มารับฟังผลเลือดต้องพาสามีมาด้วย

                    การดำเนินงานไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เนื่องจาก

1. สามีมาพร้อมกับหญิงตั้งครรภ์มีจำนวนน้อย

2. เจ้าหน้าที่ไม่สามารถปรับเวลาให้การปรึกษาแบบคู่แก่หญิงฝากครรภ์ครั้งแรกได้

3. การให้การปรึกษาแบบคู่ไม่ได้เริ่มตั้งแต่กระบวนการก่อนเจาะเลือด ทำให้ต้องใช้เวลามากและเสี่ยงต่อสภาพจิตใจผู้ที่มีผลเลือดผิดปกติ

ขั้นที่ 3:  จัดทำโครงการพัฒนางานฝากครรภ์ตามแนวทางโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว (1/04/56 ) โดย ปรับรูปแบบบริการ (หนึ่งในการปรับ คือ การให้การปรึกษาแบบคู่)

          พบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาแบบคู่ คือ

                   1. จำนวนหญิงตั้งครรภ์รายใหม่มาฝากครรภ์ในวันจันทร์น้อยมาก หญิงตั้งครรภ์ยังคงมาฝากครรภ์            ในวันอังคารและวันศุกร์ (วันเดิม) เป็นจำนวนมาก

                   2. เจ้าหน้าที่มิได้ให้คำปรึกษาแบบคู่

                   3. สามีของหญิงตั้งครรภ์ไม่ได้มาพร้อมกับหญิงตั้งครรภ์ในการมาฝากครรภ์ครั้งแรก

                   4. เจ้าหน้าที่มีภาระงานมากคงเดิมไม่มีเวลาในการให้คำปรึกษา

                   5. ให้การปรึกษาแบบคู่ได้ในวันแจ้งผลเลือดหญิงตั้งครรภ์

สรุปผล เกี่ยวกับการให้คำปรึกษาแบบคู่ คือ จำนวนผู้เข้ารับการปรึกษาแบบคู่น้อยกว่าร้อยละ50

                    ขั้นที่ 4 : เสนอแนวทางปรับปรุงการพัฒนางาน ในคลินิกฝากครรภ์(1/11/56  )

โดย  ประชุมหารือในแผนก สรุปว่าจุดอ่อนของการทำงาน ที่ทำไม่ได้ผลในอดีต

 

ผลการดำเนินงานการให้คำปรึกษาแบบคู่ ( 1/10/56 – ปัจจุบัน)

 

สรุป  จำนวนผู้รับการปรึกษาแบบคู่และยินยอมตรวจเลือด คิดเป็นร้อยละ 92.44

 

แนวคิดทำงานสำเร็จได้โดย :(สรุปจากประสบการณ์ทำงาน)

1. จุดเริ่มต้นในงานคือจุดเริ่มแรกของความสำเร็จ

2. คิดแล้วลงมือทำทันที     

3. มีโอกาสต้องรีบทำอย่าปล่อยผ่าน

4. อุปสรรคทำให้เกิดการพัฒนา

5. ท้อได้แต่อย่าถอย /หยุดพักเมื่อเหนื่อย

6. การทบทวนปัญหา ทำให้พบหนทางใหม่ๆแห่งการพัฒนา

7. ผู้บังคับบัญชาทุกระดับคือแรงสนับสนุนของความสำเร็จ

8. ความสำเร็จที่ทำได้ยาก จะมอบความภาคภูมิใจอย่างมากตอบแทน

9. การพัฒนางานคือการไม่หยุดอยู่กับที่

เอกสารแนบ

Top